คลังความรู้

ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติโรงเรียน


โรงเรียนวัดลาดเป้ง ตั้งอยู่ หมู่ 3  ตำบลนางตะเคียน  อำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรสงคราม     
รหัสไปรษณีย์ 75000 โทรศัพท์  034-716106   website   http. // ladpeng.sskedarea.net
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
โรงเรียนวัดลาดเป้งเริ่มเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรก  เมื่อวันที่   17   กันยายน   2473  โดยอาศัยศาลาการเปรียญของวัดลาดเป้งเป็นสถานที่เรียน
               ..  2484   ประชาชนร่วมกับฝ่ายปกครอง ได้จัดสรรงบประมาณจากภาษีบำรุงท้องที่และประชาชนร่วมบริจาคสมทบ สร้างอาคารเรียนแบบ  . 1 .  จำนวน  1  หลัง  ขนาด  4  ห้องเรียน
               ..  2506 ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการทดลองขยายการศึกษาภาคบังคับ  ตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช  2503  ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ  019  โรงฝึกงาน  โรงอาหาร
               ..  2508   ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ  015
               ..  2524    ประชาชนร่วมทอดผ้าป่าสามัคคี ตั้งทุนมูลนิธิ เป็นเงิน  123,000   บาท
               ..  2528    ประชาชนร่วมทอดผ้าป่าจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการศึกษา ได้เงินทุน  150,000  บาท
               ..  2529    ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนดีเด่นของจังหวัด และได้รับรางวัลพระราชทานของเขต
การศึกษา 5 กระทรวงศึกษาธิการ
               ..  2533  ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่องขยายโอกาสทางการศึกษา  เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
               ..  2534 - 2537  ประชาชนร่วมบริจาคทุนสร้างเขื่อนหน้าโรงเรียน คิดเป็นมูลค่า  450,000 บาท
               ..  2539  ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนผู้นำการปฏิรูปการศึกษาของจังหวัด
               ..  2543  ได้อาคารเรียนที่รื้อถอนโรงเรียนบ้านแม่เนี้ยร่วมกับประชาชนบริจาคสมทบ สร้าง
อาคารเรียนหลวงพ่อโหนด (ปรียาภรณ์มารวิช-ธนปัญโญ อุปถัมภ์)
               ..  2546  ได้จัดทอดผ้าป่าสามัคคีโดยความร่วมมือของชุมชนดำเนินการจัดทำห้องคอมพิวเตอร์
และจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน  5  เครื่อง  เป็นเงิน  204,018.75
ปัจจุบัน  เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3       มีพระครูพิศาลสมุทรกิจ  
เจ้าอาวาสวัดลาดเป้ง  เป็นผู้อุปการะโรงเรียน และโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของวัดลาดเป้ง         สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนเป็นเขตพื้นที่ชนบท    ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม  และอาชีพเกษตรกรรมทำสวนน้ำตาลมะพร้าว  ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น